หม้อน้ำแบบท่อน้ำ (water tube boiler)

 เป็นหม้อน้ำที่มีน้ำหมุนเวียน อยู่ภายในท่อน้ำ โดยรับความร้อนจาก ก๊าซร้อนที่ไหลผ่าน ภายนอกท่อ และ ระเหยกลายเป็น ไอน้ำ หม้อน้ำแบบท่อน้ำ โดยมากนิยม นำมาใช้กับ กระบวนการผลิต ที่มีความต้องการไอน้ำปริมาณมาก และ ต้องการใช้ ความดันสูง link fired tube boiler

ิboiler คือ

รูปภาพ แสดงลักษณะ โครงสร้าง ภายในของ หม้อน้ำแบบท่อน้ำ; รูปภาพจาก babcock & wilcock company

ลักษณะโครงสร้างทั่วไปของหม้อน้ำแบบท่อน้ำ ประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญดังนี้ 

  1. ถังไอ (steam drum or upper drum) เป็นโครงสร้างเหล็ก รูปทรงกระบอก ที่อยู่ด้านบนของหม้อน้ำ แบบท่อน้ำ โดยปกติระดับน้ำจะอยู่ประมาณครึ่งหนึ่งของถังไอ ส่วนด้านล่างของถังไอจะเป็นส่วนทีท่อน้ำ (tube) จำนวนมากเข้ามาต่อชนกัน เพื่อให้น้ำในท่อน้ำที่ได้รับความร้อนไหลเวียนขึ้นมาและแยกตัวเป็นไอน้ำ และภายในถังไอด้านบนจะมี steam seperator หรือ steam purifier เพื่อแยกน้ำและสิ่งสกปรกออกจากไอน้ำ เพื่อทำให้ไอแห้งและสะอาดขึ้น
  2. ถังโคลน (mud drum or lower drum) เป็นโครงสร้าง เหล็กรูปทรงกระบอกที่อยู่ด้านล่างของหม้อน้ำ มักจะมีขนาดเล็กกว่าถังไอ ถังโคลนทำหน้าที่คล้ายท่อร่วม (header) ของท่อน้ำ โดยส่วนด้านบนของ ถังโคลน จะเป็นส่วนที่ ท่อน้ำ จำนวนมาก จากด้านบน เข้ามาต่อชน ในขณะผลิตไอน้ำ จะมีการหมุนเวียน ของน้ำในท่อมาก ตะกอนหนัก จะตกสะสมที่ถังโคลน ส่วนตะกอนเบา จะถูกหมุนเวียน ไปตามธรรมชาติ ของความแตกต่างกันของอุณหภูมิน้ำ ดังนั้น น้ำที่ป้อนเข้าหม้อน้ำ จะต้องมีความสะอาดมาก เพราะสิ่ง สกปรกที่เป็นของแข็ง เช่น ทราย สนิม ขี้เชื่อม โลหะ ฯลฯ จะขัดสีภายในท่อ เนื่องจากการหมุนเวียนของน้ำในท่อ จนท่อบางและ แตกได้
  3. ท่อน้ำ (water tube) คือ ท่อที่ให้น้ำไหลผ่านภายในท่อ โดยรับความร้อน จากก๊าซร้อน ภายนอกท่อ ถ่ายเทให้กับน้ำภายในท่อ ท่อน้ำเป็นส่วนที่รับความร้อน ส่วนใหญ่จากก๊าซร้อน ที่ได้จากการเผาไหม้ ดังนั้นท่อน้ำ จึงต้องสะอาด ปราศจากตะกรัน ถ้าภายในท่อน้ำ มีตะกรันเพียงบางๆ ท่อน้ำ อาจเกิดการเสียหายได้ เนื่องจากโลหะ ผิวนอกท่อน้ำมี อุณหภูมิสูงขึ้นการถ่ายเทความร้อน ทำได้น้อยลง ทำให้ เกิดการ สะสมความร้อน ของเนื้อโลหะ (overheat) จนโครงสร้าง โลหะของเหล็กเสียไป ไม่สามารถรับความดันได้ (long term overheat) ท่อน้ำส่วนมากจะเป็นท่อเรียบ หรืออาจมีครีบภายนอก มีขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 1/2 นิ้ว ถึง 3 นิ้ว (12.7-76.2 mm) 

รูป (a) ภาพอธิบาย natural circulation loop อย่างง่าย

รูป (b) ภาพอธิบาย forced circulation loop อย่างง่าย

การ circulation ของน้ำในหม้อน้ำ แบบท่อน้ำ

มีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ แบบ natural circulation และ forced circulation เมื่อน้ำภายในท่อได้รับความร้อนจากก๊าซร้อน ดังแสดงในรูป (a) การหมุนเวียนของน้ำในหม้อน้ำแบบ natural circulation ถ้าพิจรณาในช่วง B ถึง C น้ำภายในท่อช่วง B ถึง C จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีบางส่วนจะระเหยกลายเป็นไอน้ำ น้ำภายในช่วงนี้จะมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำที่อยู่ภายในท่อช่วง A ถึง B ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า และมีความหนาแน่นของน้ำมากกว่า ทำให้น้ำภายในท่อช่วง A ถึง ฺB ไหลลงข้างล่าง ในขณะเดียวกันน้ำภายในท่อช่วง B ถึง C ที่มีอุณหภูมิที่สูงกว่า มีความหนาแน่นน้อยกว่า และมีไอน้ำปนอยู่ ก็จะไหลขึ้นไปบน drum โดยอัตราการไหลของน้ำ หรือการหมุนเวียนของน้ำในหม้อน้ำ จะขึ้นอยู่กับผลต่าง ของความหนาหนาเฉลี่ย ระหว่างท่อน้ำด้านร้อนกับท่อน้ำด้านที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า อัตราการหมุนเวียน ของน้ำในหม้อน้ำ แบบ natural circulation จะขึ้นอยุ่กับ 4 ปัจจัย ดังนี้ 1) ความสูงของ boiler 2) operating pressure 3) ปริมาณ heat input ในด้านอุณหภูมิสูง 4) พื้นที่หน้าตัดของการไหล; กล่าวคือ ยิ่งความสูงของ upper drum กับ lower drum มาก ผลต่างของความดัน ระหว่างด้านอุณหภมิสูง กับด้านอุณหภูมิต่ำ ก็จะมากขึ้น ยิ่งเพิ่มอัตราการหมุนเวียนของน้ำภายใน boiler ในอีกทางนึงถ้า operating pressure ในหม้อน้ำยิ่งสูงขึ้น ความหนาแน่นของน้ำในหม้อน้ำทั้งด้านอุณหภูมิต่ำ และในด้านอุณหภูมิสูงเพิ่มขึ้น ทำให้ผลต่างของมวลน้ำ และไอน้ำในทั้งสองด้านลดลง และทำให้อัตราการหมุนเวียนของน้ำภายในหม้อน้ำ มีแนวโน้มลดลงด้วย และถ้าเราเพิ่ม heat input เข้าไปในด้านอุฌหภูมิสูง (ช่วง B ถึง C) ความหนาแน่นของน้ำ และไอน้ำก็จะลดลง ก็จะช่วยเพิ่มอัตราการหมุนเวียนของน้ำภายในหม้อน้ำได้ และในอีกทางนึงถ้าเราเพิ่มพื้นที่หน้าตัดของการไหลของน้ำ และไอน้ำ ก็จะช่วยเพิ่ม อัตราการหมุนเวียนของน้ำภายในบอยเลอร์ได้ ด้วยเหตุผล นี้เราจึงสังเกตุได้ว่ายิ่ง boiler ที่มีอัตราการผลิตไอน้ำมาก ความดันใช้งานสูง ก็จะออกแบบให้มีความสูงมากขึ้น และจำนวนท่อก็จะมากขึ้นเพื่อเพิ่ม อัตราการหมุนเวียนของ น้ำภายใน boiler  ส่วน forced circulation loop รูป (b) จะใช้ pump ในการควบคุมอัตราการหมุนเวียนของน้ำภายในหม้อน้ำ 

A type

รูปภาพ package water tube boiler แยกประเภทตามการวางตำแหน่งของ drum; ภาพจาก คู่มือการใช้งานและบำรุงรักษาหม้อน้ำ กรมโรงงานอุตสาหกรรม

pakage water tube boiler ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหรรม มีอยู่ 3 รูปแบบ 

โดยแบ่งตามลักษณะ โครงสร้าง และตำแหน่งของ drum คือ แบบ O-type, A-type D-type สามารถผลิตไอน้ำความดันสูงตั้งแต่ 1.8 – 10 Mpa ขนาดกำลังการผลิต 5,000 – 100,000 kg/hr และสามารถเพิ่ม superheater ในห้องเผาไหม้ได้เพื่อผลิตไอดง (superheat steam) ได้ 

ภาพแสดงลักษณะโครงสร้างของ once-through coiled water tube boiler (ภาพจากคู่มือการใช้งาน และบำงรุงรักษาหม้อน้ำ กรมโรงงานอุตสาหกรรม)

หม้อน้ำแบบท่อขดเป็นวงกลมไหลผ่านทางเดียว (once-through coiled water tube boiler)

เป็นหม้อน้ำแบบท่อน้ำชนิดนึงที่มีท่อน้ำขดอยู่เป็นวงกลมมีลักษณะการวางในแนวตั้ง รับความร้อนมาจากก็าซร้อน ที่ได้จากหัวเผาที่อยู่ตรงกลางของชุดท่อน้ำที่ขดเป็นวงกลม น้ำจะถูกป้อนเข้าที่ปลายด้านหนึงแล้วไหลผ่านจนกลายเป็นไอน้ำ ที่ปลายอีกด้านหนึ่ง หม้อน้ำชนิดนี้สามารถผลิตไอน้ำได้อย่างรวดเร็ว และสามารถปรับอัตราการป้อนน้ำและอัตราการเผาไหม้ให้ผลิตไอน้ำยิ่งยวดได้ (superheated steam) แต่ถ้าปรับการเผาไหม้ไม่เหมาะสมก็อาจะทำให้ได้ไอน้ำที่มีน้ำปะปนมา บอยเลอร์ชนิดนี้ต้องการน้ำที่มีความสะอาดมาก เนื่องจากถ้ามีตะกรันภายในท่อน้ำอาจทำให้เกิด overheat จนท่อน้ำแตก และอาจจะต้องเปลี่ยน coiled ใหม่ทั้งตัว บอยเลอร์ชนิดนี้มีตั้งแต่ขนาดเล็กกำลังการผลิตไอน้ำตั้งแต่ 300 kg/hr ไปจนถึงกำลังการผลิตที่สูงมาก จนสามารถใช้ในการขับเคลื่อน turbine ได้ ความดันอนุญาติใช้งานสูงสุดมีผลิตตั้งแต่ 1.0 MPa ไปจนจนถึงความดันไอน้ำในระดับ supercritical